วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การคาดคะเน

 การคาดคะเน
การคาดคะเน      หมายถึง การประมาณค่าที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นการคาดคะเน ระยะทาง  ขนาด  จำนวน และส่วนสูง
โดยมีค่าผิดพลาด ไม่เกินร้อยละ 10
ประโยชน์ของการคาดคะเน
1.      สามารถกะประมาณสิ่งต่างๆ ได้โดยใกล้เคียง  เพื่อจะแก้ไขเหตุการณ์บางประการ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน
2.      เป็นการฝึกหัดไหวพริบ เพื่อการหลบเลี่ยงอันตราย
3.      ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ถูกต้องใกล้ความเป็นจริง

ฐานที่1

การรู้ส่วนต่างๆของร่างกายว่า ยาวเท่าไร  กว้างเท่าไร เพื่อเอาไว้ใช้แทนเครื่องมือมาตรฐานสำหรับวัด  เช่น
1.      ความสูงเหยียดแขนเต็มที่
2.      ความสูงเสมอศีรษะ
3.      วา (กางแขนทั้งสองเหยียดเต็มที่เสมอไหล่)
4.      ความยาวของศอกถึงปลายนิ้วกลาง
5.      เกรียก (ความยาวของง่ามนิ้วจากปลายนิ้วหัวแม่มือ ถึงปลายนิ้วชี้)
6.      ความกว้างของหัวแม่มือ
7.      คืบ (ระยะหัวแม่มือถึงปลายนิ้วก้อย)
8.      ความยาวของฝ่าเท้า
9.      ความสูงเสมอตา
10.  ระยะก้าว จากปลายเท้าหลังถึงปลายเท้าหน้า
11.  ระยะความยาวฝ่าเท้าทั้งสองต่อกัน
ฐานที่ 2
การกะระยะ    เป็นการคะเนระยะของวัตถุที่ห่างจากตัวเรา  โดยอาจคิดเป็นจำนวนก้าว ซึ่งการคะเนนี้ต้องอาศัย
ประสบการณ์และทดสอบดูบ่อยๆจนเกิดความเคยชิน
ลักษณะของบุคคลในระยะต่างๆ
1. เห็นปากเห็นตาชัดอยู่ในระยะ                                       50        เมตร
2. เห็นนัยน์ตาเป็นจุดอยู่ในระยะ                                       100      เมตร
3. เห็นแต่ดุมและเครื่องประดับที่เป็นเงาอยู่ในระยะ              200      เมตร
4. เห็นแต่ใบหน้าอยู่ในระยะ                                            250      เมตร
5. เห็นแต่ขาก้าวเดินอยู่ในระยะ                                        350      เมตร
6. เห็นแต่สีเสื้ออยู่ในระยะ                                               450      เมตร


ฐานที่3
การคาดคะเนน้ำหนัก   การคะเนน้ำหนักนี้จะได้ผลใกล้เคียงต้องหมั่นฝึกหัด  และสังเกตเปรียบเทียบกับของ
ที่มีน้ำหนักแน่นอน  โดยฝึกเป็นประจำจะเกิดความชำนาญ  และสามารถคาดคะเนได้ถูกต้อง

ฐานที่ 4
การคาดคะเนด้วยการกะส่วน   
เป็นการคาดคะเนความสูงของสิ่งที่เราไม่สามารถวัดความสูงจากวัตถุได้   เช่นต้นไม้  หรือตึก 
วิธีการคือ  ให้ลูกเสือคนหนึ่งที่ทราบส่วนสูงแล้ว  ไปยืนตรงโคนต้นไม้ที่จะวัด  แล้วให้ลูกเสืออีกคนหนึ่งที่จะวัดส่วนสูง
ไปยืนห่างจากต้นไม้พอสมควร  เหยียดแขนขึ้นเสมอไหล่ในมือจับแท่งดินสอหรือปากกา  ให้หัวแม่มือทำหน้าที่กะระยะ

 

ตรงเท้าของลูกเสือที่ยืนอยู่ที่ต้นไม้นั้น  ใช้ตามองปลายดินสอหรือปากกา ผ่านไปบนศีรษะของลูกเสือที่ยืนเป็นหุ่น แล้วขยับแขนยกปลายดินสอขึ้นไป  ให้แนวโคนดินสอตรงปลายนิ้วหัวแม่มือ ต่อกันกับระดับปลายดินสอ  ทำเช่นนี้จนถึงยอด ก็จะได้จำนวนของดินสอ  ให้เอาไปคูณความสูงของลูกเสือที่ยืนอยู่โคนต้นไม้  ก็จะเป็นความสูงของต้นไม้
ความสูงของต้นไม้  = ความสูงของลูกเสือ x จำนวนเท่าของดินสอ

                                                                                                     ครูลูกเสือ A.L.T.C.
                                                                               ผู้รวบรวม/เรียบเรียง


พื้นที่รูปเรขาคณิต

  รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า   คือ รูปสามเหลี่ยม ชนิดหนึ่งที่ด้านทั้งสามมี ความยาว เท่ากัน ใน เรขาคณิตแบบยุคลิด   รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจัดเป็น รู...