วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประวัติรูบิค

ประวัติความเป็นมาของ รูบิค ( Rubik ) โดยสังเขป (อ่าน 8301/ตอบ 0)
 .
         รูบิค หรือที่เรียกกันว่า ลูกรูบิค   เป็นของเล่นลับสมอง  ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดย เออร์โน รูบิค Ernö  Rubik ซึ่งเป็น ประติมากร และ ศาสตราจารย์ในสาขาสถาปนิก ชาวฮังการี โดยทั่วไป ตัวลูกบาศก์นั้นทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อยๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่สามารถบิดหมุนไปรอบๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่างๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ จุดประสงค์ของเกมคือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ ซึ่งมีทั้งหมด ด้านนั้น มีสีเดียวกัน

ลูกบาศก์ของรูบิค ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และ ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ ของ วัฒนธรรมสมัยนิยม ของยุคนั้น ลูกบาศก์ของรูบิคนั้นถือได้ว่าเป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวม ทั้งของแท้ และ เลียนแบบ มากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก

ประวัติ

ลูกบาศก์ของรูบิค นั้นถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดย เออร์โน รูบิค ประติมากร และ ศาสตราจารย์สถาปนิก ชาวฮังการี ผู้ซึ่งมีความสนใจในเรขาคณิต และ รูปทรงสามมิติ เออร์โนได้จดสิทธิบัตร HU170062 สิ่งประดิษฐ์ ในชื่อ "ลูกบาศก์มหัศจรรย์" (Magic Cubeในปี ค.ศ. 1975 ที่ประเทศฮังการี แต่ไม่ได้ทำการจดสิทธิบัตรนานาชาติ ได้มีการผลิดชุดแรกเพื่อสำรวจตลาด ในปลายปี ค.ศ. 1977 โดยทำการจำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์

หลังจากนั้นลูกบาศก์ นี้ก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งประเทศฮังการี โดยการบอกเล่าปากต่อปาก วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตก ก็เริ่มให้ความสนใจในลูกบาศก์นี้ ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1979 บริษัท ไอดีลทอยส์ (Ideal Toys) ได้ทำข้อตกลงเพื่อทำการจำหน่ายทั่วโลก และได้มีการเปิดตัวของลูกบาศก์นี้ในระดับนานาชาติที่ งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก เมืองนูร์นแบร์ก และ กรุงปารีส ในช่วงต้นปีค.ศ. 1980 บริษัทไอดีลทอยส์ ได้เปลี่ยนชื่อของเล่นนี้เป็น "ลูกบาศก์ของรูบิค" (Rubik's Cubeและ ได้มีการส่งออกลูกบาศก์นี้จากประเทศฮังการีชุดแรกเพื่อการจำหน่าย ในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1980

ชื่อ "ลูกบาศก์ของรูบิค 
(Rubik's Cube)นั้นเป็นเครื่องหมายการค้า ของบริษัท "Seven Towns Limited" ดังนั้นบริษัทไอดีลทอยส์จึงลังเลที่จะผลิตของเล่นนี้  ในขณะนั้นจึงปรากฏของลอกเลียนแบบออกจำหน่าย ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทไอดีลทอยส์ได้แพ้คดีการล่วงละเมิดสิทธิบัตรหมายเลข US3655201 ซึ่งฟ้องร้องโดย แลร์รี นิโคลส์ Larry Nichols     ชาวญี่ปุ่นชื่อ อิชิกิ เทรุโตชิ (Terutoshi Ishigi) ได้ทำการจดสิทธิบัตรของเล่นที่มีลักษณะเกือบจะเหมือนกันกับลูกบาศก์ของรูบิค หมายเลข JP558192 ที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเวลาระหว่างที่สิทธิบัตรที่รูบิคขอนั้นกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ นายอิชิกิ จึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการค้นพบซ้ำกัน


ชิ้นส่วนลูกบาศก์ของรูบิค มีขนาดมาตรฐานโดยประมาณ 2 1/8 นิ้ว (5.4 ซ.ม.) กว้าง ยาวและสูง ลูกบาศก์ประกอบด้วยลูกบาศก์ขนาดย่อม 26 ชิ้น ชิ้นกลางหน้าของแต่ละด้าน จะเป็นชิ้นที่มีสีหน้าเดียว และเชื่อมต่อกับกลไกการหมุนที่แกนกลาง ซึ่งชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนกลางนี้จะเป็นโครงสร้างที่ขัดส่วนที่เหลือไว้ด้วยกัน และหมุนไปมาได้ ดังนั้นทั้งหมดจะมี 27 ชิ้นส่วน แกนกลางสำหรับหมุน ชิ้น ชิ้นกลางหน้า ชิ้น และ ชิ้นอื่นๆ อีก 20 ชิ้น ซึ่งสามารถประกอบเข้ากับชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนหมุนได้พอดี โดยจะมีส่วนที่ออกแบบให้ยึดขัดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน แต่หมุนไปมาได้ การแยกชิ้นส่วนของลูกบาศก์ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่งัดชิ้นที่เป็นมุมให้หลุดออกมาส่วนที่เหลือก็จะหลุดออกจากกันเอง การแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคโดยวิธีการแยกส่วนประกอบเป็นวิธีที่ง่าย แต่ขาดความท้าทาย

นอกเหนือจากชิ้นกลางหน้าแล้ว จะมีลูกบาศก์ขนาดย่อมอีก 20 ชิ้น มี 12 ชิ้นเป็นชิ้นขอบ ซึ่งมีสี ด้าน และ ชิ้นเป็นชิ้นมุม ซึ่งมีสี ด้าน


การเรียงสลับเปลี่ยน

ลูกบาศก์ของรูบิค มีจำนวนรูปแบบการเรียงสลับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด (8! × 38−1) × (12! × 212−1)/2 = 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ (~4.3 × 1019) ประมาณ 43 ล้าน ล้าน ล้าน (quintillion) รูปแบบ ถึงแม้จะมีรูปแบบการจัดเรียงเป็นจำนวนมาก แต่ทุกรูปแบบสามารถแก้ได้ภายในการบิด 29 ครั้งหรือ น้อยกว่า


การแข่งขัน

มีการจัดการแข่งขัน ปั่นลูกบาศก์ (speedcubing) เพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคได้เร็วที่สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ มิถุนายน ค.ศ. 1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้นคือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจาก นครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาที สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดย สหพันธ์ลูกบาศก์โลก (World Cube Association) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการจัดการแข่งขัน

นอกจากนี้ยังมีสถิติอื่นที่ไม่เป็นทางการ ที่ใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการจัดการแข่งขัน และ จับเวลา ที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นมีเพียงสถิติที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ลูกบาศก์โลกเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

ในปี ค.ศ. 2004 สหพันธ์ลูกบาศก์โลก ได้จัดทำมาตรฐานใหม่ โดยใช้อุปกรณ์จับเวลาที่เรียกว่า นาฬิกาจับเวลาสแตคแมท (Stackmat timer)

สถิติโลกที่ดีที่สุดอยู่ในการแข่งขันเช็ก โอเพ่น ที่สาธารณรัฐเช็กปี 2551 โดย นายเอริก อัคเคอร์สดิจค์ เวลา 7.08 วินาที

คัดลอกบทความข้างต้น  มาจาก  ..................   วิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี

...............................................................................................................................................................

 ***  บทความเสริม .........

ในปี พ.ศ.2554  ได้เกิดสถิติโลกขึ้นใหม่อย่างเป็นทางการ ทำขึ้นโดยนาย Feliks  Zemdegsชาวออสเตรเลีย ในการแข่งขัน Melbourne Winter Open 2011  ที่ประเทศออสเตรเลีย ของการเล่น5 ครั้งในรอบชิงชนะเลิศ มีเวลาเฉลี่ย(Average) ที่ 7.64 วินาที และ การเล่นในครั้งที่ดีที่สุด(Best Single) ที่ทำได้คือ เวลา 5.66 วินาที

และล่าสุด ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556  นาย Mats Valk ชาวเนเธอแลนด์ ได้ทำสถิติโลกขึ้นมาใหม่ ในการแข่งขัน Zonhoven Open 2013  ที่ประเทศเบลเยี่ยม  ด้วยการทำสถิติโลกในการเล่นครั้งที่ดีที่สุด (Best Single)ที่ 5.55 วินาที จากการเล่น 5 ครั้งของการเล่นในรอบแรกของการแข่งขัน 

สำหรับสถิติที่ทำเวลาเฉี่ลยของการเล่น5 ครั้ง (Best Average) ที่ดีที่สุดของโลกนั้น  สถิติที่ดีที่สุดของโลกยังคงเป็นของ นาย Feliks  Zemdegs ชาวออสเตรเลีย ทำไว้ที่ 6.54 วินาทีจากการแข่งขันรายการ  Melbourne Cube Day 2013 ที่ประเทศออสเตรเลีย  ในปี พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาเช่นกัน 

ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่ได้รับการยอมรับและบันทึกไว้ในปัจจุบัน ที่แสดงอยู่ในการจัดอันดับRanking ของ WCA ( World Cube Association )

* การจัดอันดับ Ranking ของ WCA นี้   ลำดับและสถิติ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  ซึ่งจะเป็นไปตามผลงานของผู้เข้าแข่งขันสามารถทำได้ตามสนามแข่งขันที่จัดขึ้นทั่วโลกที่WCAรับรอง ในช่วงเวลาต่างๆที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด

ดูการจัดอันดับRankingในปัจจุบันของWCA ตามLinkนี้

เป็นที่น่าชื่นชมและน่ายินดี ว่า.... ในการจัดอันดับโลกตามRanking ของWCA จะพบว่ามี Cuberที่เป็นชาวไทยติดอันดับต้นๆ ( 10 อันดับแรกของโลก ) รวมอยู่ด้วย และถ้าดูไปถึง100 อันดับแรกของโลก ก็จะพบว่ามี Cuber ชาวไทยอยู่หลายรายเลยทีเดียว ที่มีความสามารถและทำผลงานได้ดีในระดับโลก   ซึ่งท่านอาจจะไม่ทราบมาก่อน

ชมคลิป  10อันดับ ผู้เล่นทำเวลาดีที่สุดของโลกแบบ 3x3x3 Single ปี ค.ศ.2013 (พ.ศ.2556) ...
Credit to Youtube Channel of Ivander Latidjan 
https://www.youtube.com/watch?v=z-ib1fVQJtE



แล้วท่านหละ ........... เคยเล่นแล้วหรือยัง  และ สามารถเล่นแก้ (Solve)ได้หรือไม่  และ ทำสำเร็จได้เร็วที่สุดใช้เวลาเท่าใด


ขอขอบคุณ  คณะที่รวบรวม และ เรียบเรียง บทความ
 โดยทีมงาน Sunson Cube
11 พฤศิจิกายน 2552 
แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่1  3 ตุลาคม 2554
แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่2  10 ธันวาคม 2556

ลูกบาศก์ของรูบิค

ลูกบาศก์ของรูบิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สภาพแบบสุ่ม

สภาพหลังแก้ปัญหาสำเร็จ
ลูกบาศก์ของรูบิก (อังกฤษRubik's Cube) หรือที่เรียกกันว่า ลูกรูบิก เป็นของรูบิคับสมอง ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดยแอร์เนอ รูบิก (Ernő Rubik) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์และสถาปนิกชาวฮังการี โดยทั่วไป ตัวลูกบาศก์นั้นทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อย ๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่สามารถบิดหมุนไปรอบ ๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่าง ๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ จุดประสงค์ของเกมคือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ (ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้าน) มีสีเดียวกัน
ลูกบาศก์ของรูบิกได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยนิยมของยุคนั้น ลูกบาศก์ของรูบิกนั้นถือได้ว่าเป็นเป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวมทั้งของแท้และของเลียนแบบมากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก

ประวัติ[แก้]

ืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืืฟลูกบาศก์ของรูบิกได้รับการคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดยแอร์เนอ รูบิก สถาปนิกชาวฮังการีผู้สนใจในเรขาคณิตและรูปทรงสามมิติ แอร์เนอได้จดสิทธิบัตร HU170062 สิ่งประดิษฐ์ในชื่อ "ลูกบาศก์มหัศจรรย์" (Magic Cube) ในปี ค.ศ. 1975 ที่ประเทศฮังการี แต่ไม่ได้จดสิทธิบัตรนานาชาติ มีการผลิตชุดแรกเพื่อสำรวจตลาดในปลายปี ค.ศ. 1977 โดยจำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์
หลังจากนั้นลูกบาศก์นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งประเทศฮังการีโดยการบอกเล่าปากต่อปาก วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตกก็เริ่มให้ความสนใจ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1979 บริษัทไอเดียลทอยส์ (Ideal Toys) ได้ทำข้อตกลงเพื่อจัดจำหน่ายทั่วโลก มีการเปิดตัวของลูกบาศก์นี้ในระดับนานาชาติที่งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก เมืองเนือร์นแบร์ก และกรุงปารีส ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1980 บริษัทไอเดียลทอยส์เปลี่ยนชื่อของเล่นนี้เป็น "ลูกบาศก์ของรูบิก" (Rubik's Cube) และได้ส่งออกลูกบาศก์นี้จากประเทศฮังการีชุดแรกเพื่อจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1980
ชื่อ "ลูกบาศก์ของรูบิก" เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท "Seven Towns Limited" ดังนั้นบริษัทไอเดียลทอยส์จึงลังเลที่จะผลิตของเล่นนี้ ในขณะนั้นปรากฏของลอกเลียนแบบออกจำหน่าย ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทไอเดียลทอยส์แพ้คดีละเมิดสิทธิบัตรหมายเลข US3655201 ซึ่งฟ้องร้องโดยแลร์รี นิโคลส์ (Larry Nichols) ชาวญี่ปุ่นชื่อ อิชิงิ เทรูโตชิ (Terutoshi Ishigi) ได้ทำการจดสิทธิบัตรของเล่นที่มีลักษณะเกือบจะเหมือนกันกับลูกบาศก์ของรูบิก หมายเลข JP55‒8192 ที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเวลาระหว่างที่สิทธิบัตรที่รูบิกขอนั้นกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ นายอิชิกิจึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการค้นพบซ้ำกัน[1][2]

หลักการทำงาน[แก้]


ภาพชิ้นส่วน
ลูกบาศก์ของรูบิกมีขนาดมาตรฐานโดยประมาณ 2 1/8 นิ้ว (5.4 เซนติเมตร) กว้าง ยาว และสูง ลูกบาศก์ประกอบด้วยลูกบาศก์ขนาดย่อม 26 ชิ้น "ชิ้นกลางหน้า" ของแต่ละด้าน จะเป็นชิ้นที่มีสีหน้าเดียว และเชื่อมต่อกับกลไกการหมุนที่แกนกลาง ซึ่งชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนกลางนี้จะเป็นโครงสร้างที่ขัดส่วนที่เหลือไว้ด้วยกัน และหมุนไปมาได้ ดังนั้นทั้งหมดจะมี 27 ชิ้นส่วน แกนกลางสำหรับหมุน 1 ชิ้น ชิ้นกลางหน้า 6 ชิ้น และชิ้นอื่น ๆ อีก 20 ชิ้น ซึ่งสามารถประกอบเข้ากับชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนหมุนได้พอดี โดยจะมีส่วนที่ออก
ไม่ให้หลุดออกจากกัน แต่หมุนไปมาได้ การแยกชิ้นส่วนของลูกบาศก์ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่งัดชิ้นขอบให้หลุดออกมาส่วนที่เหลือก็จะหลุดออกจากกันเอง การแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิกโดยวิธีการแยกส่วนประกอบเป็นวิธีที่ง่าย แต่ขาดความท้าทาย
นอกเหนือจากชิ้นกลางหน้าแล้ว จะมีลูกบาศก์ขนาดย่อมอีก 20 ชิ้น มี 12 ชิ้นเป็น "ชิ้นขอบ" ซึ่งมีสี 2 ด้าน และ 8 ชิ้นเป็น "ชิ้นมุม" ซึ่งมีสี 3 ด้าน

การเรียงสับเปลี่ยน[แก้]

ลูกบาศก์ของรูบิกมีจำนวนรูปแบบการเรียงสับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด  รูปแบบ ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วจะมีค่าเท่ากับ 489,856,000 รูปแบบ (~4.33 × 1019) หรือประมาณ 43 ล้าน ล้าน ล้าน (quintillion) รูปแบบ ถึงแม้จะมีรูปแบบการจัดเรียงเป็นจำนวนมาก แต่ทุกรูปแบบสามารถแก้ได้ภายในการบิด 29 ครั้งหรือน้อยกว่า

การแข่งขันและสถิติ[แก้]

มีการจัดการแข่งขันการปั่นลูกบาศก์ (speedcubing) เพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิกได้เร็วที่สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้นคือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจากนครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาที
สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดยสมาคมลูกบาศก์โลก (World Cube Association) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการจัดการแข่งขันและสถิติ สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 5.25 วินาที โดย Collin Burns ในการแข่งขัน Doylestown Spring 2015[3] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 6.54 วินาที โดย Feliks Zemdegs ในการแข่งขัน Melbourne Cube Day 2013[4]
สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกด้วยมือเดียว (one-handed) ได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 6.88 วินาที โดย Feliks Zemdegs ในการแข่งขัน Canberra Autumn 2015[5] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 10.87 วินาที โดย Antoine Cantin ในการแข่งขัน Toronto Spring 2015[6]
สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกโดยปิดตาแก้ (blindfolded) ได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 21.17 วินาที โดย Marcin Kowalczyk ในการแข่งขัน PLS Szczecin 2014[7] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 3 ครั้ง คือ 26.41 วินาที โดย Kaijun Lin ในการแข่งขัน Guangzhou More Fun Site 2015[8]
สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกโดยปิดตาแก้เป็นจำนวนหลายลูก (multi-blind) อย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ ปิดตาเล่นเป็นจำนวน 41 ลูกและทำเวลาไปได้ 54 :14 นาที โดย Marcin Kowalczyk[9]
สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกด้วยเท้าได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 25.14 วินาที โดย Gabriel Pereira Campanha ในการแข่งขัน Nova Odessa Open 2014[10] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 3 ครั้ง คือ 29.96 วินาที โดย Jakub Kipa ในการแข่งขัน Polish Open 2015[11]
สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกโดยการใช้จำนวนครั้งในการบิดให้น้อยที่สุด (fewest moves) อย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ บิด 20 ครั้ง โดย Tomoaki Okayama ในการแข่งขัน Czech Open 2012[12]
นอกจากนี้ยังมีสถิติอื่นที่ไม่เป็นทางการที่ใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการจัดการแข่งขันและจับเวลาที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นมีเพียงสถิติที่ได้รับการรับรองจากสมาคมลูกบาศก์โลกเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป
ในปี ค.ศ. 2004 สมาคมลูกบาศก์โลกได้จัดทำมาตรฐานใหม่โดยใช้อุปกรณ์จับเวลาที่เรียกว่า นาฬิกาจับเวลาสแต็กแมต (StackMat timer)
ค.ศ. 2007 คาวาซากิเฮฟวีอินดรัสทรีส์ (Kawasaki Heavy Industries) ผู้ผลิตเครื่องจักรของญี่ปุ่น โชว์ตัวหุ่นยนต์ชื่อ "Cube-kun" ที่มีความสามารถการเล่นรูบิกได้อย่างรวดเร็ว [13]

การแข่งขันในประเทศไทย[แก้]

ในประเทศไทยมีการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่จัดโดยสมาคมลูกบาศก์โลก คืองาน NSM Thailand 2009 ผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนั้นคือ ปิติ พิเชษฐพันธ์ ทำเวลาเฉลี่ยไว้ที่ 12.43 วินาที นับว่าเป็นสถิติแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันชิงแชมป์เอเชีย (Asian Championship) ในปี 2010 และงานแข่งขันชิงแชมป์โลก World Championship ในปี 2011 สถิติของประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 6.15 วินาที โดยเอเชีย กรวิทยโยธิน ในการแข่งขัน Bangkok 2012[14] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 8.38 วินาที โดยนิพัฒน์ เจริญพลพันธุ์ ในการแข่งขัน Thailand Championship 2012[15] โดยทั้งสองสถิตินี้ยังถือเป็นสถิติของทวีปเอเชียในขณะนั้นด้วย

ของเล่นที่เกี่ยวข้อง[แก้]


ลูกบาศก์แบบต่าง ๆ (จากซ้าย) การล้างแค้นของรูบิก, ลูกบาศก์ของรูบิก, ลูกบาศก์ศาสตราจารย์, ลูกบาศก์พกพา

พีรามิงส์

เมกะมิงส์

นาฬิกาของรูบิก

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น [http ://cubeman.vg-network.com/cchrono.txt]
  2. กระโดดขึ้น [http ://inventors.about.com/library/weekly/aa040497.htm]
  3. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  4. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333&regionId=&years=&show=100%2BPersons&average=Average
  5. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333oh&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  6. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333oh&regionId=&years=&show=100%2BPersons&average=Average
  7. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333bf&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  8. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333bf&regionId=&years=&show=100%2BPersons&average=Average
  9. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333mbf&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  10. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333ft&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  11. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333ft&regionId=&years=&show=100%2BPersons&average=Average
  12. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333fm&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  13. กระโดดขึ้น http ://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000143869
  14. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333&regionId=Thailand&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  15. กระโดดขึ้น https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333&regionId=Thailand&years=&show=100%2BPersons&average=Average

ขอบคุณ  https://th.wikipedia.org/

พื้นที่รูปเรขาคณิต

  รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า   คือ รูปสามเหลี่ยม ชนิดหนึ่งที่ด้านทั้งสามมี ความยาว เท่ากัน ใน เรขาคณิตแบบยุคลิด   รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจัดเป็น รู...