วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การวัดเกี่ยวกับปริมาตรและน้ำหนัก

การวัดปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

จากบทก่อน ๆ เราทราบมาแล้วว่าเราใช้หน่วยการวัดปริมาตรเป็น ลูกบาศก์หน่วย หรือ หน่วย3 ตามหน่วยของ
ความยาวที่ใช้ในสถานการณ์นั้น เช่น
สี่เหลี่ยมมุมฉาก


1 ลูกบาศก์เซนติเมตร หมายถึง ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีความกว้าง ความยาว และความสูงเป็น 1 เซนติเมตร 
เท่ากัน
               หน่วยการวัดปริมาตรและหน่วยการวัดน้ำหนัก
     หน่วยการวัดปริมาตรและน้ำหนักที่สำคัญ ซึ่งนักเรียนควรรู้จักมีดังนี้
การวัดปริมาตรและน้ำหนัก
หน่วยการวัดปริมาตรในระบบเมตริก
                1              ลูกบาศก์เซนติเมตร       เท่ากับ    1,000      หรือ  103 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
                1              ลูกบาศก์เมตร                เท่ากับ    1,000,000  หรือ    106          ลูกบาศก์เซนติเมตร
                1              ลูกบาศก์เซนติเมตร       เท่ากับ    1              มิลลิลิตร
                1              ลิตร                               เท่ากับ    1, 000     หรือ        103           มิลลิลิตร
 หรือ        1              ลิตร                              เท่ากับ    1, 000     หรือ        103           ลูกบาศก์เซนติเมตร
                1, 000     ลิตร                                 เท่ากับ    1              ลูกบาศก์เมตร

หน่วยการวัดปริมาตรในระบบอังกฤษ

                 3              ช้อนชา                        เท่ากับ    1              ช้อนโต๊ะ
                16           ช้อนโต๊ะ                       เท่ากับ    1              ถ้วยตวง
                1              ถ้วยตวง                       เท่ากับ    8              ออนซ์
หน่วยการวัดปริมาตรในระบบอังกฤษ เทียบกับระบบเมตริก ( โดยประมาณ )
               1              ช้อนชา                        เท่ากับ    5              ลูกบาศก์เซนติเมตร
               1              ถ้วยตวง                      เท่ากับ    240         ลูกบาศก์เซนติเมตร

หน่วยการวัดน้ำหนักในระบบเมตริก
               1              กรัม                           เท่ากับ    1, 000     หรือ    103               มิลลิกรัม
               1              กิโลกรัม เท่ากับ    1, 000     หรือ    103               กรัม
               1              เมตริกตัน ( ตัน )      เท่ากับ    1, 000     หรือ   103                กิโลกรัม

หน่วยการวัดน้ำหนักในระบบเมตริกเทียบกับระบบอังกฤษ (โดยประมาณ)
              1              กิโลกรัม เท่ากับ    2.2046   ปอนด์
              1              ปอนด์                        เท่ากับ    0.4536   กิโลกรัม

หน่วยการตวงระบบประเพณีไทยเทียบกับระบบเมตริก
กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดการเทียบหน่วยการตวงระบบประเพณีไทยกับระบบเมตริกเพื่อการซื้อขาย คือ กำหนดให้
               ข้าวสาร                  1              ถัง           มีน้ำหนัก               15           กิโลกรัม
               ข้าวสาร                  1              กระสอบ มีน้ำหนัก             100         กิโลกรัม

ตัวอย่าง

                1นิดดื่มน้ำวันละ 2 แก้ว แก้วละ 8 ออนซ์ ในแต่ละวันนิดต้องดื่มน้ำกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร
                                เนื่องจาก  8  ออนซ์             เท่ากับ  1  ถ้วยตวง
                                นม  2   แก้ว  แก้วละ  8  ออนซ์  คิดเป็นนม  3  ถ้วยตวง
                                เนื่องจาก   1  ถ้วยตวง  เท่ากับ  240  ลูกบาศก์เซนติเมตร
                                ดังนั้น  นม  2  ถ้วยตวง  คิดเป็นนม  2  x  240   =   480  ลูกบาศก์เซนติเมตร
                                นั่นคือ นิดดื่มนมวันละ  480  ลูกบาศก์เซนติเมตร
                                ตอบ  480    ลูกบาศก์เซนติเมตร

2. นกมีน้ำหนัก  96 ปอนด์ อีก 4 เดือนต่อมาไปชั่งน้ำหนักได้  45.5 กิโลกรัม น้ำหนักของนกคนเพิ่มขึ้นกี่กิโลกรัม 
( กำหนดให้ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 2.2 )
                                เนื่องจาก  1  กิโลกรัม  เท่ากับ  2.2  ปอนด์
                                นกมีน้ำหนัก  96  ปอนด์  คิดเป็นน้ำหนัก     96/2.2   =   43. 6  กิโลกรัม
                                อีก 4 เดือนต่อมามีน้ำหนักเป็น  45.5  กิโลกรัม
                ดังนั้น นกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น   45.5  -  43.6  =   1.9  กิโลกรัม

การวัดเกี่ยวกับพื้นที่

การวัดพื้นที่

   จากบทที่ผ่านมาเราทราบมาแล้วว่า เราใช้พื้นที่ในการบอกขนาดของเนื้อที่ เช่น ต้องการบอกขนาด
ของเนื้อที่นา หรือเนื้อที่ของสนามญ้า ซึ่งต้องคำนวณหาพื้นที่และบอกเป็นหน่วยการวัดพื้นที่

ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินรังวัดที่นาของลุงแดง แล้วคำนวณได้พื้นที่โดยประมาณเป็น 10 ไร่ 
2 งาน 15 ตารางวา นักเรียนคุ้นเคยมาแล้วกับการวัดพื้นที่และใช้หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบเมตริก
และมาตราไทยซึ่งใช้หน่วยการวัดพื้นที่เป็นตารางหน่วย หรือ หน่วย2 ตามหน่วยการวัดความยาว 
เช่น                             
ในบางสถานการณ์นักเรียนอาจพบเห็นการใช้หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ ซึ่งใช้หน่วยการวัด
พื้นที่เป็นตารางหน่วย ตามหน่วยการวัดความยาวในระบบอังกฤษ เช่น ตารางนิ้ว และตารางฟุต

การเปลี่ยนหน่วยการวัดพื้นที่ในระบบหรือมาตราเดียวกัน สามารถคำนวณได้จากการเปลี่ยนหน่วย
การวัดความยาวตามความสัมพันธ์ของหน่วยในระบบหรือมาตรานั้น ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง สี่เหลี่ยม ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีพื้นที่เป็น 1 ตารางเมตร เมื่อต้องการเปลี่ยนหน่วย
เป็นตารางเซนติเมตร ทำได้ดังนี้
เนื่องจากความยาว 1 เมตร เท่ากับ 100 เซนติเมตร
ดังนั้น พื้นที่ 1 × 1 ตารางเมตร เท่ากับ 100 × 100 ตารางเซนติเมตร
นั่นคือ พื้นที่ 1 ตารางเมตร เท่ากับ 10,000 หรือ 104 ตารางเซนติเมตร

ในชีวิตประจำวันเรายังมีความจำเป็นต้องมีการซื้อขายที่ดิน ซึ่งการคิดพื้นที่ของไทยยังนิยมบอกพื้นที่
เป็นหน่วยในมาตราไทย เช่น ไร่ งาน และตารางวา แต่ในการจ้างเหมาซื้อดินมาถมที่ บางครั้ง
ผู้รับเหมาจะคำนวณความยาว และพื้นที่เป็นหน่วยในระบบเมตริก เป็นตารางเมตร หรือคำนวณปริมาตร
เป็นลูกบาศก์เมตร ดังนั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการใช้งานจึงต้องมีการเปรียบเทียบหน่วยระหว่าง
ระบบหรือมาตรา ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง สี่เหลี่ยม ABCD เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีพื้นที่เป็น 1 ตารางวา เมื่อต้องการเปลี่ยนหน่วยเป็น
ตารางเมตร ทำได้ดังนี้
เนื่องจากความยาว 1 วา เท่ากับ 2 เมตร
ดังนั้น พื้นที่ 1 × 1 ตารางวา เท่ากับ 2 × 2 ตารางเมตร
นั่นคือ พื้นที่ 1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตารางเมตร


หน่วยการวัดพื้นที่

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบเมตริก
1 ตารางเซนติเมตร     เท่ากับ   100 หรือ 102 ตารางเซนติเมตร
1 ตารางเมตร              เท่ากับ   10,000 หรือ 104 ตารางเซนติเมตร
1 ตารางกิโลเมตร       เท่ากับ   1,000,000 หรือ 105 ตารางเมตร

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษ
1 ตารางฟุต       เท่ากับ   144 หรือ 122 ตารางนิ้ว
1 ตารางหลา     เท่ากับ   9 หรือ 32 ตารางฟุต
1 เอเคอร์          เท่ากับ   4,840 ตารางหลา
1 ตารางไมล์     เท่ากับ   640 เอเคอร์

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทย
100 ตารางวา    เท่ากับ   1 งาน
4 งาน                เท่ากับ   1 ไร่
400 ตารางวา    เท่ากับ   1 ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก
1 ตารางวา             เท่ากับ   4 ตารางเมตร
1 งาน                    เท่ากับ   400 ตารางเมตร
1 ไร่                       เท่ากับ   1,600 ตารางเมตร
1 ตารางกิโลเมตร   เท่ากับ   625 ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ)
1 ตารางนิ้ว       เท่ากับ   6.4516 ตารางเซนติเมตร
1 ตารางฟุต      เท่ากับ   0.0929 ตารางเมตร
1 ตารางหลา    เท่ากับ   0.8361 ตารางเมตร
1 เอเคอร์         เท่ากับ   4046.856 ตารางเมตร(2.529 ไร่)
1 ตารางไมล์    เท่ากับ   2.5899 ตารางกิโลเมตร

          ในการเปรียบเทียบพื้นที่ที่มีหน่วยการวัดพื้นที่ต่างระบบหรือต่างมาตรา จำเป็นต้องทำให้มี
หน่วยการวัดพื้นที่เป็นหน่วยเดียวกันก่อน

ตัวอย่างที่ 1 พื้นที่  13.5  ตารางกิโลเมตร  คิดเป็นกี่ไร่
วิธีทำ  เนื่องจากพื้นที่  1 ตารางกิโลเมตร  เท่ากับ  625  ไร่
          ดังนั้น  พื้นที่  13.5  ตารางกิโลเมตร  เท่ากับ  13.5*625 = 8,437.5  ไร่
ตอบ  8,437.5  ไร่

                                             แบบฝึกหัด
1.  จงเติมตัวเลขที่ถูกต้องลงในช่องว่าง
         1)           1   เซนติเมตร                 =  …………….. มิลลิเมตร
              พี้นที่  1*1 ตารางเซนติเมตร        = ……………..  ตารางมิลลิเมตร
         2)           1   เมตร                        = ……………..  เซนติเมตร
              พี้นที่  1*1 ตารางเมตร               = ……………..  ตารางเซนติเมตร 
         3)           1   กิโลเมตร                  = ……………..  เมตร
              พี้นที่  1*1 ตารางกิโลเมตร         = ……………..  ตารางเมตร
         4)           1   ฟุต                         = …………….. นิ้ว
              พี้นที่  1*1 ตารางฟุต                = …………….. ตารางนิ้ว
         5)          1 หลา                         = …………….. ฟุต
                   พี้นที่  1*1 ตารางหลา              = …………….. ตารางฟุต

การวัด การวัดความยาว

การวัดความยาว

          การวัดความยาว คือ การหาค่าความยาวของวัตถุหรือระยะทาง เมื่อทำการวัดความยาว 
แล้วควรระบุความยาวนั้นเสมอ เพื่อความเข้าใจตรงกันในการสื่อสาร คนโบราณได้ใช้อวัยวะต่างๆ 
ในร่างกายเป็นเครื่องมือช่วยในการวัดสิ่งต่างๆ เช่น น้ำลึก 2 ศอก ผ้ากว้าง 4 คืบ ไม้กระดานยาว 4 วา เป็นต้น 

ในบางครั้งเราอาจต้องเปลี่ยนหน่วยวัดความยาวเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งอาจเปลี่ยนหน่วย
การวัดความยาวในระบบเดียวกันหรือต่างระบบกันได้ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่าง จงเปลี่ยนหน่วยการวัดความยาวที่กำหนดให้ต่อไปนี้
1. 500 เซนติเมตร คิดเป็นกี่เมตร
2. 70 กิโลเมตร คิดเป็นกี่เมตร
วิธีทำ     1. เนื่องจาก 100 เซนติเมตร เท่ากับ 1 เมตร
ดังนั้น 500 เซนติเมตร เท่ากับ 500/100 = 5 เมตร
              2. เนื่องจาก 1 กิโลเมตร เท่ากับ 1,000 เมตร
ดังนั้น 70 กิโลเมตร เท่ากับ 70 × 1,000 = 70,000 เมตร

ตัวอย่าง คุณป้ามาลีสูง 155 เซนติเมตร อยากทราบว่าคุณป้ามาสูงกี่เมตร
วิธีทำ     เนื่องจาก 100 เซนติเมตร เท่ากับ 1 เมตร และคุณป้ามาลีสูง 155 เซนติเมตร
ดังนั้น คุณป้ามาลีสูง 155/100 = 1.55 เมตร

ตัวอย่าง ความยาวของรั้วโรงเรียนด้านติดถนนเป็น 1.9 กิโลเมตร อยากทราบว่าความยาวของ
รั้วโรงเรียนด้านติดถนนเป็นกี่เมตร
วิธีทำ     เนื่องจาก 1 กิโลเมตร เท่ากับ 1,000 เมตร และรั้วโรงเรียนยาว 1.9 กิโลเมตร
ดังนั้น ความยาวของรั้วโรงเรียนเป็น 1.9 × 1,000 = 1,900 เมตร

หมายเหตุ
1. เมื่อต้องการเปลี่ยนหน่วยจากหน่วยที่เล็กกว่าไปสู่หน่วยที่ใหญ่ขึ้นจะใช้การหาร
2. เมื่อต้องการเปลี่ยนหน่วยจากหน่วยที่ใหญ่กว่าไปสู่หน่วยที่เล็กลงจะใช้การคูณ


หน่วยการวัดความยาว

หน่วยการวัดความยาวในระบบเมตริก
10 มิลลิเมตร    เท่ากับ  1 เซนติเมตร
100 เซนติเมตร    เท่ากับ  1 เมตร
1,000 เมตร    เท่ากับ  1 กิโลเมตร

หน่วยการวัดความยาวในระบบอังกฤษ
12 นิ้ว             เท่ากับ  1 ฟุต
3 ฟุต       เท่ากับ  1 หลา
1,760 หลา     เท่ากับ  1 ไมล์

หน่วยการวัดความยาวในมาตราไทย
12 นิ้ว เท่ากับ  1 คืบ
2 คืบ         เท่ากับ  1 ศอก
4 ศอก เท่ากับ  1 วา
20 วา เท่ากับ  1 เส้น
400 เส้น เท่ากับ  1 โยชน์

หน่วยการวัดความยาวในระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ)
1 นิ้ว        เท่ากับ   2.54 เซนติเมตร
1 ฟุต       เท่ากับ   30.48 เซนติเมตร
1 หลา     เท่ากับ   0.9144 เมตร
1 ไมล์     เท่ากับ   1.6093 กิโลเมตร

หน่วยการวัดความยาวในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก

1 วา         เท่ากับ   2 เมตร
2 ศอก      เท่ากับ   1 เมตร
25 เส้น     เท่ากับ   1 กิโลเมตร
1 โยชน์    เท่ากับ   16 กิโลเมตร

การวัด

ความเป็นมาของการวัด

        ในสมัยโบราณบรรพบุรุษของเรายังไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการวัดรยะยะทาง เวลา 
พื้นที่ แลปริมาตร การสื่อความหมายเกี่ยวกับการวัดของคนสมัยนั้นอาศัยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ 
หรือกิจกรรมที่ทำกันเป็นกิจวัตรเป็นเครื่องมือในการบอกระยะทาง เวลา พื้นที่ และปริมาตร ซึ่งเป็น
การสื่อความหมายเกี่ยวกับการวัดที่ได้จากการสังเกตและการคาดคะเนอย่างหยาบๆ ทำให้บางครั้งเกิด
ปัญหาการสื่อความหมายไม่ตรงกัน เช่น

การสื่อความหมายเกี่ยวกับระยะทาง
     - บ้านกำนันอยู่ห่างจากบ้านของเราประมาณสองคุ้งน้ำ
     - ที่นาของป้าจันทร์อยู่ห่างจากที่นี่ชั่วเวลาเคี้ยวหมากจืดสนิทพอดี
     - วัดอยู่ไม่ไกลหรอก แค่เดินไปชั่วหม้อข้าวเดือดเท่านั้น
     - หมู่บ้านนาโต่งอยู่ไกลจากที่นี่เท่ากับเสียงช้างร้อง
การสื่อความหมายเกี่ยวกับเวลา
     - ให้ออกจากบ้านก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
     - ตื่นนอนตอนไก่ขัน
     - กลับเถอะ นกบินกลับรังแล้ว
การสื่อความหมายเกี่ยวกับปริมาณอื่นๆ
     - มีทองเท่าหนวดกุ้ง
     - หุงข้าวสักสองกำมือ
     - ใช้เกลือสักหยิบมือหนึ่ง
     - หัวใจเท่ากำปั้น

          การสื่อความหมายเกี่ยวกับการวัดได้มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ตามยุคสมัย เมื่อมีการติดต่อไปมา
ระหว่างชุมชน มีการซื้อแลกเปลี่ยน ทำให้ต้องมีหน่วยการวัดและเครื่องมือที่ใช้วัดที่ชัดเจนเพื่อสื่อ
ความหมายได้ตรงกันมากขึ้น เช่น หน่วยการบอกเวลาเป็นทุ่ม และหน่วยการตวงเป็นทะนาน ต่อมา
หน่วยการวัดและเครื่องมือที่ใช้วัดได้พัฒนาเรื่อยมาจนเป็นมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้

สำหรับการวัดความยาวมีวิวัฒนาการเป็นลำดับคร่าวๆ ตามที่เห็นได้ชัดเจนมีดังนี้

          ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าการบอกระยะทางใกล้ ไกล ของคนไทยในสมัยโบราณ เป็น
การบอกระยะทางอย่างหยาบๆ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน ต่อมาเมื่อชุมชนมีการคมนาคมติดต่อ
แลกเปลี่ยนซื้อขายกันมากขึ้น จึงได้พัฒนาหน่วยการวัดและเครื่องมือที่ใช้วัดให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
ในวงกว้างขึ้น ในระยะแรกๆ มีการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นเกณฑ์อ้างอิง เช่น น้ำลึก 2 ศอก 
ผ้ากว้าง 3 ผืน ไม้กระดานยาว 4 วา แต่การใช้คืบ ศอก และวาเพื่อบอกระยะทางก็ยังไม่ชัดเจนอยู่ดี 
เพราะ คืบ ศอก และวาของแต่ละชุมชนที่ใช้กันมักยาวไม่เท่ากัน
                             
ต่อมาจึงได้พัฒนาหน่วยการวัดและเครื่องมือที่ใช้วัดให้เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งมาตรฐานสากลที่นิยม
ใช้กัน มีดังนี้

          ระบบอังกฤษ กำหนดหน่วยความยาวเป็น นิ้ว ฟุต หลา และไมล์ เป็นต้น
          ระบบเมตริก ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ. 2336 ที่ประเทศฝรั่งเศส กำหนดหน่วยความยาวเป็น
 เซนติเมตร เมตร และกิโลเมตร เป็นต้น
          สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2466 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด โดยใช้
หน่วยการวัดของระบบเมตริก ร่วมกับหน่วยการวัดที่เป็นประเพณีไทยบางหน่วยซึ่งได้ปรับเทียบเข้าหา
ระบบเมตริกแล้ว พระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้เฉพาะหน่วยการวัดความยาว พื้นที่ ปริมาตร และมวล 
ซึ่งมุ่งประสงค์สำหรับไว้ใช้โดยเฉพาะในการซื้อขาย เช่น

2 ศอก     เท่ากับ     1 เมตร
1 ไร่        เท่ากับ     1,600 ตารางเมตร
1 บาท     เท่ากับ     15 กรัม

เมื่อ พ.ศ. 2503 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization หรือชื่อย่อ ISO) ได้กำหนดให้มีระบบการวัดใหม่ขึ้น เพื่อใช้ในการวัดทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก เรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างประเทศ และ
เรียกหน่วยการวัดในระบบนี้ว่า หน่วย SI

หน่วยรากฐานของระบบ SI มี 7 หน่วย ที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน ได้แก่

เมตร เป็นหน่วยใช้วัดความยาว
กิโลกรัม เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์ เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร

นอกจากเราจะมีหน่วยการวัดที่เป็นมาตรฐานสากลแล้ว เครื่องมือที่ใช้วัดก็มีความสำคัญมากเช่นกัน 
กล่าวคือจะต้องเป็นเครื่องมือวัดที่ได้มาตรฐาน ค่าที่วัดได้ทุกครั้งจะต้องมีความเที่ยงตรง

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อัตราส่วนที่เท่ากัน


อัตราส่วนที่เท่ากัน

 พิจารณาข้อความต่อไปนี้
                “แม่ให้รุ่งไปซื้อมะนาวจากตลาดนัดข้างบ้าน รุ่งซื้อมะนาวมา 4 ผลราคา 5 บาท “ จากข้อความดังกล่าว สามารถนำมาเขียนในรูปอัตราส่วน เป็น 4:5 นักเรียนคิดว่า ถ้ารุ่งต้องการซื้อมะนาวตามจำนวนที่กำหนดในตาราง แล้วราคามะนาวจะเป็นเท่าไร
ให้นักเรียนเติมราคามะนาวในตารางให้สมบูรณ์
จำนวนมะนาว (ผล)              4              8              12           16           20
ราคามะนาว (บาท)               5              ...            ...            ...            ...
นักเรียนคิดว่าจะเขียนอัตราส่วนของจำนวนมะนาวเป็นผลต่อราคาเป็นบาทได้อย่างไรบ้าง ซึ่งคำตอบจะเป็นดังนี้
               4:5   หรือ   8:10   หรือ   12:15   หรือ   16:20   หรือ   20:25
จะเห็นว่าอัตราส่วนเหล่านี้ ได้มาจากการซื้อมะนาวในราคาเดียวกันคือ มะนาว 4 ผล ราคา 5 บาท และกล่าวว่าอัตราส่วนเหล่านั้นเป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน ซึ่งเขียนได้ดังนี้
              4:5 = 8:10 = 12:15 = 16:20 = 20:25 หรือ 4/5 = 8/10 = 12/15 = 16/20 = 20/25
เราจะสังเกตเห็นว่า อัตราส่วนที่เท่ากันข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกันกับอัตราส่วน 4/5 ดังนี้
       คูณด้วยจำนวนเดียวกัน                                             หารด้วยจำนวนเดียวกัน
  4/5 = (4×2)/(5×2) = 8/10                                   8/10 = (8÷2)/(10÷2) = 4/5
  4/5 = (4×3)/(5×3) = 12/15                                  12/15 = (12÷3)/(15÷3) = 4/5
  4/5 = (4×4)/(5×4) = 16/20                                16/20 = (16÷4)/(20÷4) = 4/5
  4/5 = (4×5)/(5×5) = 20/25                                20/25 = (20÷5)/(25÷5) = 4/5
การทำอัตราส่วนให้เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้ข้างต้น เป็นไปตามหลักการหาอัตราส่วนที่เท่ากัน ดังนี้
                หลักการคูณ เมื่อคูณแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกันโดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
                หลักการหาร เมื่อหารแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกันโดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
ตัวอย่าง จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วน  7  :  9  มาอีก  2  อัตราส่วนโดยใช้หลักการคูณ
วิธีทำ           7 : 9  =   7/9  =  (7×2)/(9×2)  =  14/18
                    7 : 9  =   7/9  =  (7×3)/(9×3)  =  21/27
             ดังนั้น อัตราส่วนที่เท่ากันกับอัตราส่วน  7 : 9  คือ  14 : 18 และ 21 : 27
             ตอบ  14 : 18 และ 21 : 27
ตัวอย่าง จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วน  122/180  มาอีก  2  อัตราส่วนโดยใช้หลักการหาร
วิธีทำ           122/180  =  (122÷2)/(180÷2)  =  61/90
                    122/180  =  (122÷10)/(180÷10)  =  12.2/18
             ดังนั้น อัตราส่วนที่เท่ากันกับอัตราส่วน  122/180 คือ  61/90  และ   12.2/18
             ตอบ    61/90  และ   12.2/18

การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนโดยใช้การคูณไขว้
พิจารณาอัตราส่วนสองอัตราส่วนต่อไปนี้


เราสามารถตรวจสอบว่า อัตราส่วนทั้งสองนี้เท่ากันหรือไม่ ดังนี้
       20/12 = (20×27)/(12×27)  
 และ 45/27 = (45×12)/(27×12)     

เนื่องจาก                12×27 =  27×12
จึงตรวจสอบว่า        20×27 = 45×12    หรือไม่
เนื่องจาก                 20×27 = 540        และ 45×12 = 540
ดังนั้น                      20×27 = 45×12
จึงสรุปได้ว่า            20/12  กับ  45/27     เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
     ให้สังเกตว่า 20×27 และ 45×12 ได้มาจากการคูณไขว้ ซึ่งผลคูณไขว้ 20×27 = 45×12 ข้างต้นนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่า อัตราส่วน 20/12 และ 45/27 เท่ากัน
      โดยทั่วไปเราสามารถตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน a/b และ c/d ด้วยการคูณไขว้

               แล้วพิจารณาผลคูณไขว้ a × d และ b × c  ตามหลักดังนี้
                ถ้า a×d = b×c  แล้ว a/b = c/d
                ถ้า a×d ≠ b×c  แล้ว a/b ≠ c/d
จากหลักการข้อ 2  ข้างต้น ทำให้ได้ข้อสรุปต่อไปอีกว่า
                ถ้า a/b = c/d แล้ว a×d = b×c 
ตัวอย่าง  จงตรวจสอบว่าอัตราส่วนในข้อต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
              2/6  และ 15/45
วิธีทำ         จากการคูณไขว้  

             
       จะได้                               2 × 45    =  90
                                        6  ×  15  =  90
         ดังนั้น                             2 × 45    =  6  ×  15 
         นั่นคือ                                    2/6   =  15/45

             ตอบ       2/6   และ   15/45  เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน


    1.  จงเขียนอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้ มา  3  จำนวน
          1)   3/4  =  .................... =  .................... =  ....................
          2)  2/5  =  ....................  =  ....................  =  ....................
          3)  8/11  =  ....................  =  ....................  =  ....................
         4)  36/72  =  ....................  =  ....................  =  ....................
         5)  120/80  =  ....................  =  ....................  =  ....................
         6)  9.6/8.4  =  ....................  =  ....................  =  ....................
  2.  อัตราส่วนที่กำหนดให้แต่ละข้อต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
        1)  3 / 5  กับ 15 / 25                                           2)  7/12  กับ  21/24
        3)  6 / 12  กับ  18 / 36                                        4)  3 / 4  กับ  9 / 16
        5)  35 : 49  กับ  7 : 5                                         6)  27 : 33  กับ  36 : 44
        7 )  18 : 11  กับ  36 : 22                                    8)  6 : 7  กับ  7:8
        9)  0.5 : 10  กับ  2 : 40                                     10)  1.8 : 2  กับ  3.6 : 6

พื้นที่รูปเรขาคณิต

  รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า   คือ รูปสามเหลี่ยม ชนิดหนึ่งที่ด้านทั้งสามมี ความยาว เท่ากัน ใน เรขาคณิตแบบยุคลิด   รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจัดเป็น รู...