วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อัตราส่วนที่เท่ากัน


อัตราส่วนที่เท่ากัน

 พิจารณาข้อความต่อไปนี้
                “แม่ให้รุ่งไปซื้อมะนาวจากตลาดนัดข้างบ้าน รุ่งซื้อมะนาวมา 4 ผลราคา 5 บาท “ จากข้อความดังกล่าว สามารถนำมาเขียนในรูปอัตราส่วน เป็น 4:5 นักเรียนคิดว่า ถ้ารุ่งต้องการซื้อมะนาวตามจำนวนที่กำหนดในตาราง แล้วราคามะนาวจะเป็นเท่าไร
ให้นักเรียนเติมราคามะนาวในตารางให้สมบูรณ์
จำนวนมะนาว (ผล)              4              8              12           16           20
ราคามะนาว (บาท)               5              ...            ...            ...            ...
นักเรียนคิดว่าจะเขียนอัตราส่วนของจำนวนมะนาวเป็นผลต่อราคาเป็นบาทได้อย่างไรบ้าง ซึ่งคำตอบจะเป็นดังนี้
               4:5   หรือ   8:10   หรือ   12:15   หรือ   16:20   หรือ   20:25
จะเห็นว่าอัตราส่วนเหล่านี้ ได้มาจากการซื้อมะนาวในราคาเดียวกันคือ มะนาว 4 ผล ราคา 5 บาท และกล่าวว่าอัตราส่วนเหล่านั้นเป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน ซึ่งเขียนได้ดังนี้
              4:5 = 8:10 = 12:15 = 16:20 = 20:25 หรือ 4/5 = 8/10 = 12/15 = 16/20 = 20/25
เราจะสังเกตเห็นว่า อัตราส่วนที่เท่ากันข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกันกับอัตราส่วน 4/5 ดังนี้
       คูณด้วยจำนวนเดียวกัน                                             หารด้วยจำนวนเดียวกัน
  4/5 = (4×2)/(5×2) = 8/10                                   8/10 = (8÷2)/(10÷2) = 4/5
  4/5 = (4×3)/(5×3) = 12/15                                  12/15 = (12÷3)/(15÷3) = 4/5
  4/5 = (4×4)/(5×4) = 16/20                                16/20 = (16÷4)/(20÷4) = 4/5
  4/5 = (4×5)/(5×5) = 20/25                                20/25 = (20÷5)/(25÷5) = 4/5
การทำอัตราส่วนให้เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้ข้างต้น เป็นไปตามหลักการหาอัตราส่วนที่เท่ากัน ดังนี้
                หลักการคูณ เมื่อคูณแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกันโดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
                หลักการหาร เมื่อหารแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกันโดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
ตัวอย่าง จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วน  7  :  9  มาอีก  2  อัตราส่วนโดยใช้หลักการคูณ
วิธีทำ           7 : 9  =   7/9  =  (7×2)/(9×2)  =  14/18
                    7 : 9  =   7/9  =  (7×3)/(9×3)  =  21/27
             ดังนั้น อัตราส่วนที่เท่ากันกับอัตราส่วน  7 : 9  คือ  14 : 18 และ 21 : 27
             ตอบ  14 : 18 และ 21 : 27
ตัวอย่าง จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วน  122/180  มาอีก  2  อัตราส่วนโดยใช้หลักการหาร
วิธีทำ           122/180  =  (122÷2)/(180÷2)  =  61/90
                    122/180  =  (122÷10)/(180÷10)  =  12.2/18
             ดังนั้น อัตราส่วนที่เท่ากันกับอัตราส่วน  122/180 คือ  61/90  และ   12.2/18
             ตอบ    61/90  และ   12.2/18

การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนโดยใช้การคูณไขว้
พิจารณาอัตราส่วนสองอัตราส่วนต่อไปนี้


เราสามารถตรวจสอบว่า อัตราส่วนทั้งสองนี้เท่ากันหรือไม่ ดังนี้
       20/12 = (20×27)/(12×27)  
 และ 45/27 = (45×12)/(27×12)     

เนื่องจาก                12×27 =  27×12
จึงตรวจสอบว่า        20×27 = 45×12    หรือไม่
เนื่องจาก                 20×27 = 540        และ 45×12 = 540
ดังนั้น                      20×27 = 45×12
จึงสรุปได้ว่า            20/12  กับ  45/27     เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
     ให้สังเกตว่า 20×27 และ 45×12 ได้มาจากการคูณไขว้ ซึ่งผลคูณไขว้ 20×27 = 45×12 ข้างต้นนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่า อัตราส่วน 20/12 และ 45/27 เท่ากัน
      โดยทั่วไปเราสามารถตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน a/b และ c/d ด้วยการคูณไขว้

               แล้วพิจารณาผลคูณไขว้ a × d และ b × c  ตามหลักดังนี้
                ถ้า a×d = b×c  แล้ว a/b = c/d
                ถ้า a×d ≠ b×c  แล้ว a/b ≠ c/d
จากหลักการข้อ 2  ข้างต้น ทำให้ได้ข้อสรุปต่อไปอีกว่า
                ถ้า a/b = c/d แล้ว a×d = b×c 
ตัวอย่าง  จงตรวจสอบว่าอัตราส่วนในข้อต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
              2/6  และ 15/45
วิธีทำ         จากการคูณไขว้  

             
       จะได้                               2 × 45    =  90
                                        6  ×  15  =  90
         ดังนั้น                             2 × 45    =  6  ×  15 
         นั่นคือ                                    2/6   =  15/45

             ตอบ       2/6   และ   15/45  เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน


    1.  จงเขียนอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้ มา  3  จำนวน
          1)   3/4  =  .................... =  .................... =  ....................
          2)  2/5  =  ....................  =  ....................  =  ....................
          3)  8/11  =  ....................  =  ....................  =  ....................
         4)  36/72  =  ....................  =  ....................  =  ....................
         5)  120/80  =  ....................  =  ....................  =  ....................
         6)  9.6/8.4  =  ....................  =  ....................  =  ....................
  2.  อัตราส่วนที่กำหนดให้แต่ละข้อต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
        1)  3 / 5  กับ 15 / 25                                           2)  7/12  กับ  21/24
        3)  6 / 12  กับ  18 / 36                                        4)  3 / 4  กับ  9 / 16
        5)  35 : 49  กับ  7 : 5                                         6)  27 : 33  กับ  36 : 44
        7 )  18 : 11  กับ  36 : 22                                    8)  6 : 7  กับ  7:8
        9)  0.5 : 10  กับ  2 : 40                                     10)  1.8 : 2  กับ  3.6 : 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่รูปเรขาคณิต

  รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า   คือ รูปสามเหลี่ยม ชนิดหนึ่งที่ด้านทั้งสามมี ความยาว เท่ากัน ใน เรขาคณิตแบบยุคลิด   รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจัดเป็น รู...