วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

คูณด้วยนิ้วมือ

การคูณด้วยนิ้วมือ แม่ 6, 7, 8 และ 9 
 เราสามารถใช้นิ้วมือช่วยในการหาผลคูณ 1 x 9, 2 x 9, 3 x 9, 4 x 9, 5 x 9, 6 x 9, 7 x 9, 8 x 9, 9 x 9 และ 10 x 9 แล้ว ยังสามารถใช้นิ้วมือในการหาผลคูณของ 6 x 6, 6 x 7, 6 x 8, 6 x 9, 7 x 7, 7 x 8, 7 x 9, 8 x 8 และ 8 x 9 ดังนี้
        ข้อตกลง การกำหนดเลขโดดแทนนิ้วมือ ให้นักเรียนคว่ำมือโดยนิ้วหัวแม่มือหันเข้าหากัน นิ้วหัวแม่มือทั้งสองมือ เลข 6  นิ้วชี้ทั้งสองมือ เลข 7 นิ้วกลางทั้งสองมือ เลข 8 นิ้วนางทั้งสองมือ เลข 9
        ในการหาผลคูณของ 6 x 6 ให้นำนิ้วหัวแม่มือ(เลข 6) ชนกัน มีนิ้วชนกันอยู่ 2 นิ้ว นิ้วที่ชนกันมีค่านิ้วละ 10 จะได้ 20 เก็บไว้ จากนั้นให้นำจำนวนนิ้วที่เหลือแต่ละมือคูณกัน มือซ้ายเหลือ 4 มือขวาเหลือ 4 นำ 4 x 4 ได้ 16 นำ 16 ไปบวกกับ 20 ที่เก็บไว้ จะได้ 20 + 16 = 36 ดังนั้น 6 x 6 = 36 ดังรูป
                                              
         ในการหาผลคูณ 7 x 6 ให้นำนิ้วแม่มือและนิ้วชี้(เลข 6 เลข 7)ของมือซ้ายมาชนกับนิ้วหัวแม่มือ(เลข 6)ของมือขวามีนิ้วชนกันอยู่ 3 นิ้ว นิ้วที่ชนกันมีค่านิ้วละ 10 จะได้ 30 เก็บไว้ จากนั้นให้นำจำนวนนิ้วที่เหลือแต่ละมือคูณกัน มือซ้ายเหลือ 3 มือขวาเหลือ 4 นำ 3 x 4 ได้ 12 นำ 12 ไปบวกกับ 30 ที่เก็บไว้ จะได้ 30 + 12 = 42
 ดังนั้น 7 x 6 = 42 ดังรูป
                                                  

        ในการหาผลคูณ 8 x 6 ให้นำนิ้วแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลางเลข 6 เลข 7  เลข 8)ของมือซ้ายมาชนกับนิ้วหัวแม่มือ(เลข 6)ของมือขวามีนิ้วชนกันอยู่ 4 นิ้ว นิ้วที่ชนกันมีค่านิ้วละ 10 จะได้ 40 เก็บไว้ จากนั้นให้นำจำนวนนิ้วที่เหลือแต่ละมือคูณกัน มือซ้ายเหลือ 2 มือขวาเหลือ 4 นำ 2 x 4 ได้ 8 นำ 8 ไปบวกกับ 40 ที่เก็บไว้ จะได้ 40 + 8 = 48 ดังนั้น 8 x 6 = 48 ดังรูป
                                                     
        ในการหาผลคูณ 9 x 6 ให้นำนิ้วแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางเลข 6 เลข 7 เลข 8 เลข 9)ของมือซ้ายมาชนกับนิ้วหัวแม่มือ(เลข 6)ของมือขวามีนิ้วชนกันอยู่ 5 นิ้ว นิ้วที่ชนกันมีค่านิ้วละ 10 จะได้ 50 เก็บไว้ จากนั้นให้นำจำนวนนิ้วที่เหลือแต่ละมือคูณกัน มือซ้ายเหลือ 1 มือขวาเหลือ 4 นำ 1 x 4 ได้ 4 ดังรูป
                                                       

        ในทำนองเดียวกันสามารถหาผลคูณของ 7 x 7, 7 x 8, 7 x 9, 8 x 8 และ 8 x 9 ได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่รูปเรขาคณิต

  รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า   คือ รูปสามเหลี่ยม ชนิดหนึ่งที่ด้านทั้งสามมี ความยาว เท่ากัน ใน เรขาคณิตแบบยุคลิด   รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจัดเป็น รู...