วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

คำศัพท์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ

กรวย   (cone)        รูปทรงใด ๆ ที่มีฐานเป็นรูปวงกลมหรือวงรี และผิวประกอบด้วยส่วนของเส้นโครงซึ่งโยงระหว่างจุดบนเส้นรอบวงของวงกลม หรือวงรีกับจุดคงที่จุดหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในระนาบเดียวกับฐาน
กำลังสอง  (square)     กำลังสองของจำนวนจริง x ใด ๆ หมายถึง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ โดยมี 2 เป็นเลขชี้กำลัง
 กำลังสองสมบูรณ์   (perfect square) กำลังสองของจำนวนหรือของพหุนาม เช่น 4 เป็นกำลังสองสมบูรณ์ของ 2 และมีค่าเท่ากับ 22
  a2 + 2ab + b2 เป็นกำลังสองสมบูรณ์ของ a + b และมีค่าเท่ากับ (a + b)2
 ความชันของเส้นตรง  (slope of a line)         m เป็นความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด P1 (x1, y1) และ P2 (x2, y2) ก็ต่อเมื่อ
(frequency)  ความถี่ จำนวนครั้งที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่กำหนดให้ หรือจำนวนค่าจากการสังเกตของข้อมูล ที่ตกอยู่ในอันตรภาคชั้นที่กล่าวถึง
ความถี่สะสม 
(cumulative frequency)     ความถี่สะสมของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หรือของอันตรภาคชั้นใด หมายถึงผลรวมของความถี่ของค่านั้นหรือของอันตรภาคชั้นนั้น กับความถี่ของค่าหรืออันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหมด หรือ สูงกว่าทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความถี่สะสมสัมพัทธ์ 
(relative cumulative frequency)     ความถี่สะสมสัมพัทธ์ของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หรืออันตรภาคชั้นใด คืออัตราส่วนระหว่างความถี่สะสมของค่านั้น หรืออันตรภาคชั้นนั้นกับผลรวมของความถี่ทั้งหมด อาจแสดงในรูปเศษส่วนทศนิยม หรือร้อยละ

ความถี่สัมพัทธ์ 
(relative frequency)    ความถี่สัมพัทธ์ของค่าใดหรืออันตรภาคชั้นใดคือ อัตราส่วนระหว่างความถี่สะสมของค่านั้น หรืออันตรภาคชั้นนั้นกับความถี่ทั้งหมด อาจจะแสดงอยู่ในรูปเศษส่วนทศนิยม หรือร้อยละ
(probability)   ความน่าจะเป็น    อัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ที่สนใจ กับจำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซที่เป็นเซตจำกัด และสมาชิกเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน
ความสัมพันธ์ 
(relation)   เซตของคู่อันดับเช่น {(1, 2), (2, 3), (3, 4) }
คอมพลีเมนต์ของเซต 
(complement of a set)      ถ้าเซต A เป็นสับเซตของเอกภพสัมพันธ์ U คอมพลีเมนต์ของเซต A เมื่อเทียบกับ U เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A’ คือ เซตที่มีสมาชิกอยู่ใน U แต่ไม่อยู่ใน A
คอร์ด 
(chord)       ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดสองจุดใด ๆ บนเส้นรอบวงหรือเส้นโค้ง

ค่ากึ่งกลางพิสัย 
(mid-range  )       ค่ากลางของข้อมูลที่หาได้จากการเฉลี่ยค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของข้อมูล

ค่าเฉลี่ย 
(mean   )     ทางสถิติ หมายถึง ค่ากลางของข้อมูลแต่ละชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 
(arithmetic mean)       ค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการบวกค่าสังเกตของข้อมูลทั้งหมด แล้วหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด ใช้สัญลักษณ์

ค่ามัธยฐาน 
(median)        ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุดหรือจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด

ค่าสัมบูรณ์ 
(absolute value)        ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง a เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึงระยะจากจุดแทน 0 ถึงจุดแทน a บนเส้นจำนวน

ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
(absolute value of a complex number, modulus of a complex number)         ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อนของ a + bi เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ | a + bi | หมายถึงระยะจากจุดกำเนิด (0, 0) ถึงจุด (a, b) มีค่าเท่ากับ

คุณสมบัติการสลับที่ 
(commutative property)     สำหรับ a, b ทุกตัวในเซต A กับโอเปอเรชัน * จะมีคุณสมบัติการสลับที่เมื่อ a * b = b * a เรียกว่า เซต A มีคุณสมบัติการสลับที่สำหรับโอเปอเรชัน *

คุณสมบัติปิด 
(closure property)     เซต A มีคุณสมบัติปิดภายใต้โอเปอเรชัน * ใด ๆ ถ้า a, b เป็นสมาชิดใน A แล้วสมาชิกที่เกิดขึ้นใหม่จาก a * b จะต้องเป็นสมาชิกใน A ด้วย

คู่อันดับ 
(orderen pair)      คู่ของสมาชิกที่มาจากเซต A และเซต B เขียนได้ในรูป (a, b) เรียก a ว่าสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับ และเรียก b ว่า สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับ

เครื่องหมายรวมยอด 
(summation sign)     อักษรภาษากรีก เขียนแทนด้วย โดยทั่วไปหมายถึงผลบวกของตัวแปร เช่น ใช้เป็น สัญลักษณ์ที่เขียนแทนผลบวกของตัวแปร x ซึ่งประกอบด้วยค่าจากการสังเกต n ค่า

จำนวน       (number)          ปริมาณที่ทำให้มีความรู้สึกว่ามากหรือน้อย

จำนวนคี่ 
(odd number)     จำนวนเต็มที่ไม่ใช้จำนวนคู่ หรือจำนวนที่อยู่ในเซต
จำนวนคู่ 
(even number)    จำนวนเต็มที่หารด้วย 2 แล้วได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็ม นั่นคือ จำนวนที่อยู่ในเซต

จำนวนจริง 
(real number)    จำนวนที่เป็นสมาชิกอยู่ในเซตที่เกิดจากยูเนียนของเซตของจำนวนตรรกยะ และเซตของจำนวนอตรรกยะ

จำนวนจริงบวก 
(positive real number)    จำนวนจริงที่มากกว่าศูนย์หรือจำนวนที่แทนได้ด้วยจุดที่อยู่ทางขวามือของจุดแทนศูนย์บนเส้นจำนวน

จำนวนจริงลบ 
(negative real number)     จำนวนจริงที่น้อยกว่าศูนย์หรือจำนวนที่แทนได้ด้วยจุดที่อยู่ทางซ้ายมือของจุดแทนศูนย์บนเส้นจำนวน

จำนวนเฉพาะ 
(prime number)    จำนวนเต็ม a ซึ่งไม่เท่ากับ 0 หรือ และต้องหารลงตัวด้วย และ เท่านั้น เช่น เป็นต้น (ส่วนมากมักจะกล่าวถึงจำนวนเฉพาะทีเป็นจำนวนจริงบวกเท่านั้น)


จำนวนเชิงซ้อน 
(complex number)    จำนวนใด ๆ ที่เขียนในรูปคู่อันดับ (a, b) เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงและมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1. (a, b) = (c, d) ต่อเมื่อ a = c และ b = d
2. (a, b) + (c, d) = (a + c, b + d)
3. (a, b) . (c, d) = (ac – bd, ad + bc)
หรือ (a, b) อาจเขึยนได้ในรูป a + bi เมื่อ i2 = -1 เรียก a ว่าส่วนจริง (real part) และเรียก b ว่าส่วนจินตภาพ (imaginary part) จำนวนเชิงซ้อน (0, b) เมื่อ b # 0 เรียกว่าจำนวนจินตภาพแท้

จำนวนตรรกยะ 
(rational number)     จำนวนที่เขียนได้ในรูป โดยที่ a และ b ต่างเป็นจำนวนเต็มและ b # 0 ได้แก่
1. จำนวนเต็ม 0, 1, -1, 2, -2, 3, -3, ….
2. จำนวนที่เขียนไว้ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม โดยที่ตัวหารไม่เป็นศูนย์
3. จำนวนที่เขียนไว้ในรูปทศนิยมซ้ำ เช่น

จำนวนเต็ม
(integer )    จำนวนที่อยู่ในเซต { …, -2, -1, 0, 1, 2, …}

จำนวนเต็มบวก 
(positive integer, natural number, counting number)     จำนวนที่อยู่ในเซต { 1, 2, 3, …}

จำนวนอตรรกยะ 
(irrational number)    จำนวนจริงที่ไม่ใช่จำนวนตรรกยะเขียนได้ในรูปทศนิยมไม่ซ้ำ เช่น = 3.1415926535…, sin 45 ํ = 0.70710678…, tan 140 ํ = -0.8391…

จุดกึ่งกลาง  (mid point) 
 ทางสถิติหมายถึงจุดกึ่งกลางของแต่ละอันตรภาคชั้น หาได้จากการเฉลี่ยค่าขอบบนและขอบล่างของแต่ละอันตรภาคชั้น
จุดทศนิยม (decimal point)   
จุดที่อยู่ระหว่างจำนวนเต็มหรือศูนย์กับเศษส่วนในระบบฐานสิบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่รูปเรขาคณิต

  รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า   คือ รูปสามเหลี่ยม ชนิดหนึ่งที่ด้านทั้งสามมี ความยาว เท่ากัน ใน เรขาคณิตแบบยุคลิด   รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจัดเป็น รู...